วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หลักสูตร BAR และ AAR ที่เขาแหลม

วงจรความรู้ คุณวิบูลย์
http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc6/246456_489724204379457_1666940719_n.jpg


ผมคิดว่าการทบทวนก่อนการปฏิบัตินั้น คนเราใช้จินตนาการและความคิด เข้าไปสร้างสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เราจะทบทวน และการทบทวนนั้นทำร่วมกับคนอื่น การเปลี่ยนวิธีคิดด้วยการฟังนำมาซึ่งการเข้าถึงรายละเอียดของการทบทวน สร้างทัศนะภาพที่สัมพันธ์สอดประสานกันหลอมรวมความรู้แฝงเร้นของกลุ่มคนเข้าด้วยกัน 



จากสมมุติฐานที่กล่าวมานี้ลองดูงานที่เราจะต้องไปทำคือการสอน หลักสูตร BAR และ AAR ที่เขาแหลม ผม คุณและน้องๆที่จะมาช่วยสอนจะมีจินตนาการของแต่ละคน ผมลองจินตนาการถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น เป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้
ผมตั้งเป้าว่าผลลัพธ์ที่เกิดผู้เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ที่จะใช้กระบวนการที่เชื่อมคนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลการ BAR และ AAR ที่นำไปใช้ได้ จากจินตนาการนี้ ผมนำมาคิดสร้างหลักสูตรการจะนำเขาเหล่านั้นไปสู่จุดหมายนั้นมันอยู่ภายในและเป็นสิงแฝงเร้นรู้เฉพาะตน



คุณและน้องก็มีจินตนาการและความคิดเช่นเดียวกันกับผม แต่สิ่งที่ต่างกันคือ ความรู้ที่เรามีและนำมาจินตนาการซึ่งต่อไปเป็นความคิดและการกระทำนั้น เรารู้ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น บริบทและภูมิหลังของผู้เข้าอบรม ความรู้ความชำนาญและทัศนะคติในเครื่องมือที่จะใช้ เป็นต้น
เมื่อเรามาทบทวนร่วมกัน กระบวนการที่จะหลอมรวมความคิดและการเข้าถึงสิ่งแฝงเร้นของเราทุกคนนั้นจำเป็นต้องใช้ กระบวนการสานเสวนา กระบวนการสานเสวนาที่จะได้ผลของปัญญาร่วมต้องมาจากฐาน ความเข้าใจ ไว้วางใจของพวกเราที่จะเปิดพื้นที่ให้สิ่งแฝงเร้นในตัวเราได้ปรากฏออกมา หากกระบวนการเป็นไปด้วยดี สิ่งต่างๆ ที่เป็นข้อสมมุติฐานแฝงเร้นของพวกเราหลอมรวมกันได้แล้ว จุดประสงค์ที่เราสร้างจากการหลอมรวมนั้นก็จะเป็นจุดประสงค์ร่วมของทุกคน ความคิดที่เราจะดำเนินการต่อจึงสอดบรรสานจากความสามารถที่เรา จะกระทำได้จึงจะเผยออกมา ความคิดในแง่มุมต่างๆ ที่ครอบคลุม ทั้งด้านดี ไม่ดี รายละเอียด สร้างสรรค์ ระมัดระวัง และปฏิบัติได้ จะเกิดจากวงของการรวมกัน พลังจะเลื่อนไหลสร้างความเป็นไปได้ สร้างสรรค์ บรรจุรายละเอียดของทั้งสิ่งที่ต้องทำ ผู้กระทำ ผลของมัน ข้อควรระวัง
ต่อจากนั้นเราทุกคนจะเห็นในภาพใหญ่ภาพรวมทั้งหมดทุกแง่มุม แล้วเราจะได้ทำงานที่เราเห็นในจุดประสงค์ร่วมของเราสอดคล้องกับความสามารถของเรา การมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความสามารถจะเกิดขึ้น เราจะรู้และร่วมกันรับผิดชอบทำอย่างนั้นได้ ด้วยการใส่ใจที่จะทำสิ่งที่เป็นของเราในส่วนรวมได้อย่างดีขณะเดียวกันบนความสัมพันธ์ที่เห็นวิถีของเพื่อนร่วมงานเราสามารถเกื้อกูลกัน ก้าวไปด้วยกันสู่จุดหมายได้
ทั้งหมดนี้จะเป็นไปได้ก็ต้องมีเครื่องมือระหว่างการปฏิบัติร่วมกัน เครื่องมือที่ไม่ใช่เฉพาะภายนอกอย่างเดียวแต่เครื่องมือภายในได้ถูกสร้างขึ้นด้วย เมื่อภาระกิจเสร็จสิ้นการทบทวนหลังการปฏิบัติจะตามมา สิ่งที่ทำได้ดี สิ่งที่เป็นโอกาสในการปรับปรุง ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการในครั้งต่อไป จะเผยตัวตนออกมา เพื่อให้เราได้ทบทวนแล้วนำไปปฏิบัติต่อเป็นวงจรเกลียววนที่นำความเจริญมาสู่การปฏิบัตินั้นๆ

สรุป กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานั้นคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเนื้อหา ที่ควรจะมีคือ ความเข้าใจในคน การเปลี่ยนวิธีคิดด้วยการฟัง การคิดแบบต่างๆ การสรุปบทเรียนรู้ การเขียนแบบเจาะจง ทั้งหมดนี้อยู่บนทัศนะที่ดีและสร้างสรรค์

อันนี้เป็นข้อมูลที่มีที่น้องเค้าให้มา
วันแรก น้องทอมจะเตรียมผู้เข้าอบรมให้และส่งให้เราเวลา 9.30 น. โดยให้พูดในเรื่อง ทบทวน KM Concept และ KM Tools บทบาทของผู้บริหารกับการจัดการ ความรู้ รู้จักรู้หลัก ประโยชน์ของเครื่องมือ KM โดย ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด บทบาทคุณอำนวย คุณลิขิต คุณกิจ ทั้งหมดนี้ให้เวลา 1 ชั่วโมง ก่อนพักทานเครื่องดื่มแล้วต่อด้วยสานเสวนาถึงเที่ยง ก่อนไปทานอาหาร หลังจากกลับมาจะมีผ่อนพักตระหนักรู้อีก ประมาณ 20 นาที แล้วทั้งบ่ายถึง 16.00 น.เป็นรายการที่น้องเค้าเรียกว่า Workshop สานเสวนา จบด้วยถอดบทเรียน และคำถาม ถึง 16.30 น. โดยให้เราดำเนินการนำพาผู้อบรมไป
วันที่สองจะเริ่มด้วยเรานำเครื่องมือ BAR และ AAR มาให้รู้จักในเบรคแรก เบรคที่สองและที่สาม เป็น Workshop BAR AAR ส่วนเบรคสุดท้ายเป็นถอดบทเรียน เปิดใจ คำถาม แล้วน้องทอมจะมานำผู้เข้าอบรมเก็บใจกลับสิ้นสุด เวลา 15.30 น.

ต่อจากนี้ลองสร้างหลักสูตรบนจินตนาการและความคิดของผมดูนะครับ
เป็นการเชื่อมต่อจากสมมุติฐานด้านบนสุดและเชื่อมกับข้อมูลของน้องทอม
ผมจะละตอนเริมและจบให้น้องทอมดำเนินไปตามที่ตั้งไว้
เมื่อ เข้าสู่ช่วงที่จะนำไปสู่ BAR และ AAR จะเริ่มจาก ความเข้าใจในตนเองและคนอื่น ด้วยสัตว์สี่ทิศ เราเป็นอะไร เพื่อนเห็นเราเป็นอะไร เปิดใจรับฟังได้ไหม ในความต่างกัน ใช้การสนทนากลุ่มมาดำเนินกระบวนการ(สนทนาครั้งแรก) ตรงนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วไปเบรค

ขอบคุณภาพจวาก http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/29/1029/images/tit.JPG


กลับมาสรุปช่วงแรกนำเข้าสู่การคิดโดยการฟัง แทรกความรู้แฝงเร้นและชัดแจ้ง โยงเข้าความคิดหกแบบ ใช้การสนทนากลุ่มเข้ามาอีกครั้ง(สนทนา ครั้งที่สอง) 
ขอบคุณภาพจวาก http://www.loosetooth.com/Viscom/gf/6thinking_hats.gif

คราวนี้มีคุณอำนวย คุณกิจ และคุณลิขิต สรุปนำเสนอใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วไปทานอาหาร 

กลับมาผ่อนพักตระหนักรู้
ขอบคุณภาพจวาก http://i245.photobucket.com/albums/gg73/yogitai/thaiplumsep18_6.jpg

สรุปบทเรียนช่วงเช้าตามด้วยเกมผู้นำ(ชิบปี้ชิบ)ตรงนี้สอดแทรก BAR และ AAR เข้าไปในเกม ลองให้กลุ่มตอนเช้าเขียนเกมผู้นำ เป็นแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อสอดแทรกให้รู้จัก SARs และการถอดบทเรียน จบแล้วไปเบรค กลับมา แนะนำวงจรเรียนรู้ของอ.พินิจ โยงเข้าสู่ วงจรเรียนรู้จากการทำงานที่มีทั้ง BAR และ AAR ให้รู้จักและเน้น Ba เพื่อเตรียมเครื่องมือทั้งหมดให้ให้สนทนากัน(ครั้งที่สาม)เพื่อจะนำเข้าสู่กิจกรรมวันต่อไป คือ การทำ Workshop BAR และ AAR

วันที่สอง กิจกรรมเกมต่อด้วยทบทวนเครืองมือทั้งหมดที่แนะนำเมื่อวันแรก คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของคน(สัตว์สี่ทิศ) การเปลี่ยนวิธีคิดด้วยการฟัง(สานเสวนา) การคิดแบบต่างๆ(คิดหกแบบ) การสรุปบทเรียนรู้ และการเขียนแบบเจาะจง ผมจะใช้กิจกรรมวาดภาพเป็นเครื่องมือสอน BAR และ AAR โดยนำ AAR ของการวาดภาพที่เคยทำไว้แล้วมาให้กลุ่มทำ BAR(สนทนาครั้งที่สี่) เมื่อกลุ่มทำกิจกรรมเสร็จแล้วให้นำมาทำ AAR(สนทนาครั้งที่ห้า) จบเบรคแรกด้วยการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม(สนทนากลุ่มครั้งที่เจ็ด) ตรงนี้ถ้ามีพี่เลี้ยงกลุ่มผมหวังว่า จะทำในแต่ละกลุ่ม หลังเบรคเราจะทำ กิจกรรมต่อและจบด้วย BAR(สนทนาครั้งที่แปดและเก้า) ที่ไม่ได้นำไปทำต่อ แล้วไปพักทานอาหารกันกลับมาผ่อนพักตระหนักรู้ตามที่น้องวางไว้ ช่วงบ่ายเราจะทบทวนที่เรียนรู้มาวันครึ่งและสนทนาวงใหญ่(สนทนากลุ่มใหญ่ครั้งที่หนึ่ง) ใช้เวลาประมาณ 1ชั่วโมง 15นาที เบรคแล้วกลบมาถอดบทเรียน(สนทนากลุ่มใหญ่ครั้งที่สอง) จบแล้วส่งมอบให้น้องทอมต่อไป

ทั้งหมดนี้คือความคิดนะครับ เป็น BAR ของผม โปรดต่อยอดและนำไปสู่การหลอมรวมเพื่อการปฏิบัติโดยพลัน
ด้วยจิตนอบน้อม
ตุ๊ดตู่ ร่าเริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น